โครงการพัฒนาเครือข่ายและการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Arts) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

เป้าหมายของโครงการ

ระยะที่หนึ่ง
เกิดกลไกในการขับเคลื่อนงานด้านศิลปะเพื่อคนทั้งมวลในรูปแบบของเครือข่าย

ระยะที่สอง
การมีส่วนร่วมของคนพิการเพื่อก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพในงานด้านศิลปวัฒนธรรมกระแสหลัก

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนากลไกแบบเครือข่ายและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่การขับเคลื่อนงานด้านศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Arts)
  2. เพื่อจัดทำและเผยแพร่องค์ความรู้งานด้านศิลปะเพื่อคนทั้งมวล
  3. เพื่อยกระดับทักษะความสามารถและศักยภาพ (Capacity-development) ของคนพิการในงานด้านศิลปวัฒนธรรมให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น
  4. เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อประเด็นความพิการผ่านงานศิลปวัฒนธรรม

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ประชุมสัมมนาพัฒนาเครือข่ายศิลปะเพื่อคนทั้งมวลในประเทศไทย
    • องค์กรคนพิการที่ทำงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทยจำนวน 5-10 องค์กร
    • ศิลปินหรือผู้สร้างสรรค์ที่เป็นคนพิการในประเทศไทยจำนวน 10-20 คน
    • องค์กรจากภาครัฐ เอกชนหรือภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยจำนวน 10-20 องค์กร/บุคคล
  2. โครงการพัฒนาและส่งเสริมการขับเคลื่อนศิลปะเพื่อคนทั้งมวลในชุมชนหรือท้องถิ่น
    • องค์กรคนพิการที่ทำงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ศิลปินหรือผู้สร้างสรรค์ที่เป็นคนพิการใน 4 ภาคของประเทศไทย จำนวน 20-30 องค์กร/บุคคล
  3. โครงการพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านดนตรีของศิลปินคนพิการ
    • ศิลปินคนพิการประมาณ 10 – 15 คน และ คนไม่พิการ 3-5 คน
  4. โครงการพัฒนาเครือข่ายดนตรีคนพิการแห่งเอเชีย-แปซิฟิก
    • 19 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก: ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มองโกลเลีย เนปาล อินเดีย และไทย
  5. เครือข่ายศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (ระยะที่หนึ่ง)
    • 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซียและประเทศไทย

ระยะเวลา

2 ปี 2 เดือน (เมษายน 2553 – พฤษภาคม 2555)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • เกิดเครือข่ายขับเคลื่อนงานด้านศิลปะเพื่อคนทั้งมวลในประเทศไทย ที่มีความเข้มแข็ง สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรภายในพื้นที่/ชุมชน สามารถขับเคลื่อนงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับท้องถิ่นได้ต่อไป
  • เครือข่ายระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความเข้มแข็ง รวมทั้งมีแนวทางในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในรูปแบบของโครงการหรือกิจกรรม
  • เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวงานศิลปะเพื่อคนทั้งมวลทั้งภายในประเทศไทยและระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผ่านเว็บไซต์ สิ่งพิมพ์ หรือการส่งข้อมูลข่าวสารผ่านอีเมล์อย่างสม่ำเสมอ
  • คนพิการที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีทักษะและความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น
  • องค์กร/บุคคลที่ทำงานร่วมกันในเครือข่ายและประชาชนทั่วไปเกิดความตระหนักรู้และมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อความพิการ
ย้อนกลับ